นายนิติ นิเดหะ
นายกเทศมนตรีเมืองตะลุบัน เบอร์โทรศัพท์ 081-9575574
สภาพและข้อมูลพื้นฐาน
 สภาพและข้อมูลพื้นฐาน
               
     

 
      ๑. ที่ตั้งของหมู่บ้านหรือชุมชนหรือตำบล         
                เทศบาลเมืองตะลุบัน ตั้งอยู่ที่อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี ซึ่งอยู่ทางใต้ของประเทศไทย ติดชายฝั่งทะเลด้านทิศตะวันออกของประเทศ อยู่ห่างจากกรุงเทพมหานครเป็นระยะทางประมาณ ๑,๑๑๐ กิโลเมตร และห่างจากตัวเมืองปัตตานีไปทางจังหวัดนราธิวาสเป็นระยะทางประมาณ ๕๕ กิโลเมตร มีเนื้อที่ทั้งหมด ๑๘.๕๖ ตารางกิโลเมตร หรือ ๑๑,๖๒๕ ไร่ อาณาเขตครอบคลุมตำบลตะลุบัน อำเภอสายบุรี โดยมีเขตติดต่อที่ใกล้เคียงดังนี้ คือ
                ทิศเหนือ           ติดต่อกับตำบลตะบิ้ง ตำบลปะเสยาวอ อำเภอสายบุรี และแม่น้ำสายบุรี
                ทิศใต้               ติดต่อกับตำบลละหาร อำเภอสายบุรี ตำบลไม้แก่น อำเภอไม้แก่นและคลองกอตอ
                ทิศตะวันออก      ติดต่อกับตำบลไม้แก่น อำเภอไม้แก่น และอ่าวไทยตอนล่าง
                ทิศตะวันตก        ติดต่อกับตำบลตะบิ้ง อำเภอสายบุรี และแม่น้ำสายบุรี
       ๒. ลักษณะภูมิประเทศ
                 สภาพพื้นที่โดยทั่วไป เป็นที่ราบสูง ติดชายฝั่งทะเล สลับกับที่ราบลุ่มติดฝั่งทะเลอ่าวไทยมีหมู่บ้านติดชายฝั่งทะเล จำนวน ๔ ชุมชน คือ
                ๑. ชุมชนปาตาตีมอ ๑
                ๒. ชุมชนปาตาตีมอ ๒
                ๓. ชุมชนบางตาหยาด
                ๔. ชุมชนบลูกาบายะห์
                บริเวณที่เป็นภูเขาในเขตเทศบาลเมืองตะลุบันมีเขาสลินดงบายู ภูเขานี้มี “ถ้ำปิด” ซึ่งถือว่าเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ตั้งอยู่ที่เชิงเขาด้านหลังสำนักงานเทศบาลเมืองตะลุบัน เป็นปากถ้ำขนาดไม้ใหญ่นักแต่มีหินปิดสนิทอยู่ ส่วนทางด้านหลังเขามีโพรงปรากฏอยู่และที่ศาลาเชิงเขาเป็นที่ประดิษฐ์ฐานพระพุทธรูปหินทรายแดงศิลปะร่วมสมัยอยุธยาปางมารวิชัย ๒ องค์ กรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณวัตถุแล้ว นับเป็นประวัติศาสตร์อันสำคัญยิ่ง
       ๓. ลักษณะภูมิอากาศ
               มีลักษณะอากาศร้อนชื้น สภาพอากาศมี ๒ ฤดูกาล คือฤดูร้อนและฤดูฝน มีฝนตกชุกในช่วงฤดูมรสุม แยกดังนี้
               ๑. ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่เดือนกุมพาพันธ์ ถึง เดือนเมษายน
               ๒. ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคม ถึง เดือนมกราคม และเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม มีฝนตกชุกมาก
       ๔. ลักษณะของดิน
               ลักษณะดินโดยทั่วไปในเขตเทศบาลเมืองตะลุบัน ส่วนใหญ่มีลักษณะเป็นดินร่วมปนทราย
       ๕. ลักษณะของแหล่งน้ำ
                มีแม่น้ำสายบุรีไหลผ่าน ๒ สาย คือ
                ๑. แม่น้ำสายบุรีไหลผ่านตำบลตะบิ้ง ตำบลมะนังดาลำ
                ๒. แม่น้ำสายบุรีไหลผ่านสะพานกอตอ ตำบลละหาร
                แม่น้ำทั้งสองสายไหลลงสู่ทะเลอ่าวไทย แม่น้ำสายบุรีคิดเป็นพื้นที่กักเก็บน้ำทั้งสิ้น ๔,๖๐๐ ตารางกิโลเมตร คลอง ลำธาร ห้วย จำนวน ๕ แห่ง ได้แก่ คลองบางตาหยาด,คลองกอตอ,คลองจืองา, คลองขุดพระราชดำริ และคลองอุเมะ
        ๖. ลักษณะของไม้และป่าไม้
                
ไม้ในเขตเทศบาลเมืองตะลุบัน ส่วนใหญ่จะกลายเป็นสวนยาง อยู่ในเขตชุมชนบ้านใต้, ชุมชนบ้านค้อ, ชุมชนสะพานม้า, ชุมชนตะพาล่าง, ชุมชนละเมาะบก และชุมชนหวายขม
ชุมชนในเขตเทศบาลมีจำนวน 20 ชุมชน ได้แก่

      1. ชุมชนวังเก่า  มีจำนวนประชากร  801  คน
      2. ชุมชนตลาดสด มีจำนวนประชากร  1,267  คน
      3. ชุมชนบ้านใต้ มีจำนวนประชากร  411  คน
      4. ชุมชนบ้านค้อ มีจำนวนประชากร  486  คน
      5. ชุมชนสะพานม้า มีจำนวนประชากร  554 คน
      6. ชุมชนมัสยิด  มีจำนวนประชากร  759 คน
      7. ชุมชนกาหยี  มีจำนวนประชากร  834  คน
      8. ชุมชนบลูกา  มีจำนวนประชากร  470   คน
      9. ชุมชนลาเมาะบก  มีจำนวนประชากร  698  คน
     10. ชุมชนจืองา มีจำนวนประชากร  553  คน
     11. ชุมชนหวายขม มีจำนวนประชากร  877  คน
     12. ชุมชนโรงภาษีเก่า มีจำนวนประชากร  631 คน
     13. ชุมชนบลูกาบายะห์ มีจำนวนประชากร  444 คน
     14. ชุมชนปาตาตีมอ 1 มีจำนวนประชากร  1,153 คน
     15. ชุมชนปาตาตีมอ 2 มีจำนวนประชากร  1,267 คน
     16. ชุมชนบางตาหยาด มีจำนวนประชากร  1,184  คน
     17. ชุมชนลาเมาะทะเล มีจำนวนประชากร  432  คน
     18. ชุมชนอุเมะ  มีจำนวนประชากร  604  คน
     19. ชุมชนตะพาล่าง มีจำนวนประชากร  248  คน
     20. ชุมชนตะพาบน มีจำนวนประชากร  436  คน
 





สำนักงานเทศบาลเมืองตะลุบัน ถนนลูกเสือ ตำบลตะลุบัน อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี 94110
โทรศัพท์ 073-411015   l  โทรสาร 073-411015  l   อีเมลล์ :
talubun2019@gmail.com